วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บนดวงจันทร์



 





 โครงการ สำรวจดวงจันทร์ของมนุษย์ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ในทางหนึ่งช่วยเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับบริวารของโลกดวงนี้อย่างชักเจนมาก ขึ้นจนถึงขั้นที่หลายประเทศกำหนดเป้าหมายว่าจะส่งคนของตนขึ้นไปตั้ง "อาณานิคม" เพื่อขุดเหมืองหาแร่ธาตุพลังงานกลับมาใช้บนพื้นโลก
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางฐานความรู้ใหม่ๆ เหล่านี้มนุษย์ก็ได้ทิ้งเศษ ซากขยะไฮเทคปริมาณ มหาศาลกว่า 20 ตันกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นผิวดวงจันทร์ ในรูปแบบของซากยานอวกาศ ซากดาวเทียม ยานหุ่นยนต์ จรวดขับดัน รวมถึงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อีกมากมาย และในอนาคตขยะจะยิ่งเพิ่มปริมาณสูงขึ้นเมื่อรัฐบาลมหาอำนาจต่างกำลังแข่งขัน กันอย่างหนักเพื่อครอบครองดวงจันทร์โดยสมบูรณ์



"ลูนาร์ 2" ปีพ.ศ.2502

ยาน "ลูนาร์ 2" ของสหภาพโซเวียต หรือ รัสเซียปัจจุบัน สร้างประวัติศาสตร์เป็นยานอวกาศลำแรกของโลกที่เดินทางไปถึงพื้นผิวดวงจันทร์ สำเร็จ แม้จะไปถึงด้วยการพุ่งชนก็ตาม!


"เรนเจอร์ 4" ปีพ.ศ.2505 "เรนเจอร์ 4" เป็นยานลำแรกในโครงการเรนเจอร์ของสำนักงานอวกาศสหรัฐ (นาซ่า) ที่ไปถึงดวงจันทร์ได้ แต่เพราะการลงจอดผิดพลาดทำให้แผงเซลล์สุริยะเสียหาย ตัวยานจึงไม่มีพลังงานสำหรับส่งภาพและข้อมูลต่างๆ กลับมายังพื้นโลก

"เรนเจอร์ 6-9" ปีพ.ศ.2507-2508

ยานเรนเจอร์ 6-7-8-9 ของนาซ่า เก็บภาพพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกได้ทั้งหมด ก่อนตัวยานจะโหม่งผิวดวงจันทร์พังทั้งหมด

"ลูนาร์ 9" ปีพ.ศ.2509

โซเวียตชนะมหา อำนาจสหรัฐอีกครั้งในด้านอวกาศ หลังจาก "ลูนาร์ 9" เป็นยานอวกาศลำแรกของโลกที่ลงจอดบนดวงจันทร์อย่างปลอดภัยโดยไม่บุบสลาย หรือที่เรียกว่า "ซอฟต์ แลนดิ้ง" ทุกวันนี้ซากของมันยังตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ตรงจุด "โอเชียน สตรอมส์"

"เซอร์เวเยอร์ 1-7" ปีพ.ศ.2509-2511

ต่อมา สหรัฐก็สามารถส่งยานเซอร์เวเยอร์รุ่นต่างๆ ไปลงจอดซอฟต์ แลนดิ้ง บนดวงจันทร์ได้สำเร็จเช่นกัน

"ลูนาร์ ออร์บิเตอร์ 1-5" ปีพ.ศ.2509

นาซ่าตั้งโครงการ ส่งยานโคจรรอบดวงจันทร์ ภายใต้รหัส "ลูนาร์ ออร์บิเตอร์" และโครงการนี้ประสบควาสำเร็จหลังจากส่งยานรุ่นต่างๆ ไปทำแผนที่ดวงจันทร์ได้ถึง 99 เปอร์เซ็นต์

"อพอลโล เลเซอร์ เรนจิ้ง"

"อพอลโล" เป็นชื่อโครงการที่นาซ่าส่ง "มนุษย์อวกาศอเมริกัน" ออกไปเหยียบผิวดวงจันทร์
ทุกครั้งที่ทีม มนุษย์อวกาศอพอลโล 11-14-15 ไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์นั้นจะทิ้งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เอาไว้หลายชิ้น หนึ่งในนั้นคือเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์ (อพอลโล เลเซอร์ เรนจิ้ง) ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์บนโลกวัดระยะห่างจากโลกกับดวงจันทร์ได้อย่างแม่น ยำ และพบว่าทุกๆ ปี ดวงจันทร์จะถอยห่างจากโลก 3.8 เซนติเมตร

"ลูนาร์ 14" ปีพ.ศ.2513

แม้โซเวียตจะแพ้ สหรัฐในด้านการส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ แต่ก็มากู้หน้าด้วยการส่ง "ยานหุ่นยนต์ ลูนาร์ 14" ไปสำรวจดวงจันทร์ได้เป็นชาติแรกในโลก

"ฮิเต็น" ปีพ.ศ.2533

ญี่ปุ่นสร้างประวัติศาสตร์เป็นชาติที่ 3 ของโลกรองจากโซเวียตและสหรัฐ ที่ส่งยานอวกาศไปถึงดวงจันทร์ และยานลำนั้นมีชื่อว่า "ฮิเต็น"

"ลูนาร์ พรอสเปกเตอร์" ปีพ.ศ.2541

"ลูนาร์ พรอสเปกเตอร์" เป็นยานสำรวจดวงจันทร์ที่นาซ่าสร้างขึ้นมาด้วยนโยบาย สร้างยานคุณภาพดี แต่ราคาถูก มีเป้าหมายส่งไปสำรวจหลุมบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์เพื่อหา "น้ำแข็ง" แต่ก็ต้องล้มเหลว เพราะยานโหม่งกระแทกพื้นดวงจันทร์ขณะลงจอด

"สมาร์ท-1" ปีพ.ศ.2546

"สมาร์ท-1" เป็นดาวเทียมที่ "องค์การอวกาศยุโรป" ส่งไปโคจรเก็บข้อมูลของดวงจันทร์เกือบ 3,000 รอบ ก่อนบังคับให้มันพุ่งชนดวงจันทร์เพื่อยุติปฏิบัติการ


ยานลำใหม่
ปัจจุบัน "ชาติมหาอำนาจ" กำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก เพื่อเร่งเครื่องโครงการส่งคนของตนไปตั้งอาณานิคม หรือ ฐานบนดวงจันทร์ให้กลายเป็นจริง และในการเดินไปสู่ฝันครั้งนี้ก็หมายความว่าจะมีซากขยะอีกมหาศาลถูกส่งไปกอง ทิ้งอยู่บนดวงจันทร์นั่นเอง!
1. จีน : ช่วงปลายปี 2550 นี้ สำนักงานอวกาศแห่งชาติของจีนมีกำหนดการส่งยานอวกาศ "ฉางอี 1" ไปโคจรรอบดวงจันทร์ 1 ปีเพื่อทำแผนที่ 3 มิติและศึกษาส่วนประกอบความหนาของผิวดวงจันทร์ นำร่องไปสู่การส่งหุ่นยนต์และมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ต่อไป

2. ญี่ปุ่น : เร็วๆ นี้ สำนักงานอวกาศญี่ปุ่น (จาซ่า) เตรียมส่งยาน "เซลีน" ไปทำแผนที่ทั้งบนและใต้พื้นผิวดวงจันทร์ และศึกษาเรื่องแรงดึงดูดเพิ่มเติมด้วย

3. อินเดีย : ต้นปีพ.ศ.2551 "จันทรายัน 1" จะเป็นยานอวกาศลำแรกที่องค์กรวิจัยอวกาศอินเดียส่งไปทำแผนที่ดวงจันทร์ เพื่อสำรวจภูมิประเทศ ค้นหาแหล่งแร่ธาตุ น้ำแข็ง และปล่อยยานหุ่นยนต์ไปลงจอดบนผิวดวงจันทร์
4. สหรัฐอเมริกา : นาซ่าประกาศโครงการสำรวจดวงจันทร์ใหม่ในชื่อ "ลูนาร์ รีคอนเนสเซนซ์ ออร์บิเตอร์" (แอลอาร์โอ) โดยในเดือนต.ค. ปีหน้า จะส่งยานแอลอาร์โอลำแรกไปเก็บข้อมูลอุณหภูมิ ระดับแสงอาทิย์ และค้นหาน้ำแข็ง เพื่อส่งคนไปตั้งฐานถาวรบนดวงจันทร์ 

(ข้อมูลจาก : www.popsci.com )

matichon
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น