นักวิทย์ญี่ปุ่นเตรียมโคลนนิ่งแมมมอธภายใน 5 ปี
ซากแมมมอธ
..........ช้างยักษ์แมมม็อธ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแห่งยุคดึกดำบรรพ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับช้างในปัจจุบัน แต่สูญพันธุ์ไป 4,500 ปีก่อน ยังคงทิ้งปริศนาไว้ให้วงการวิทยา ศาสตร์ได้ฉงนกันว่าด้วยสาเหตุใดพวกมันจึงสาบสูญไปจากโลก นำมาซึ่งความพยายามของคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโกเบะ แห่งจังหวัดฮิวโงะ ของญี่ปุ่น ระบุว่า พวกตนอาจคืนชีพให้กับช้างตระกูล "แมมมูธัส" จำพวกนี้ได้ ผ่านกระบวนการ โคลนนิ่ง
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อากิระ อิริตะนิ ผู้นำโครงการคืนชีพช้างแมมม็อธ กล่าวว่า เมื่อป 2540 ที่ผ่านมา ทางคณะต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญหลังการสกัดสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ จากซากแมมม็อธ ซึ่งถูกแช่แข็งไว้ในแคว้นไซบีเรียของสหพันธรัฐรัสเซียประสบความล้มเหลว เนื่องจากถูกความเย็นทำลาย แต่ต่อมาในปี 2551 ดร.เทรุฮิโกะ วากายามะ จากศูนย์พัฒนาชีวภาพริกเค็นของญี่ปุ่น ค้นพบวิธีการสกัดดีเอ็นเอเพื่อโคลนนิ่งหนูจากเนื้อเยื่อที่ถูกแช่แข็งมานาน ถึง 16 ปี โดย ดร.อิริตะนิและคณะได้อาศัยกรรมวิธีดังกล่าวทำให้ประสบความสำเร็จในการสกัด "นิวคลีไอ" ส่วนซึ่งบรรจุดีเอ็นเอของแมมม็อธไว้ จากเซลล์ไข่ในซากของแมมม็อธเพศเมีย โดยใช้เซลล์ไข่ของช้างในปัจจุบันเติมในส่วนที่ขาดหายไป ขั้นต่อไปคือการหาเนื้อเยื่อที่มีสภาพสมบูรณ์จากซากแมมม็อธในไซบีเรีย สถานที่ซึ่งมีซากแมม ม็อธแช่แข็งกระจัดกระจายอยู่ถึง 150 ล้านตัว บ้างเหลือแต่กระดูกโครง กระดูกงา ขน กระทั่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์
ดร.อิ ริตะนิกล่าวว่า หากการ "เอ็มบริโอ" หรือเซลล์ตัวอ่อน ของแมมม็อธสร้างขึ้นได้สำเร็จ ทางคณะจะนำไปฝากครรภ์ไว้กับช้างแอฟริกัน เนื่องจากมีความใกล้ชิดกันทางด้านพันธุกรรมมากที่สุด โดยจะใช้เวลาอุ้มท้องทั้งสิ้นราว 22 เดือน นับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกบนโลก ซึ่งจะทำให้นักวิทยา ศาสตร์สามารถศึกษาสาเหตุของการสูญพันธุ์ได้
"ความเป็นไปได้ที่ โครงการนี้จะสำเร็จนั้นค่อนข้างเป็นไปได้น้อย แต่ตอนนี้อยู่ที่ราวร้อยละ 30 แปลว่า พวกเราอาจมีโอกาสได้เห็นช้างแมมม็อธตัวเป็นๆ ในอีกราว 4-5 ปีข้างหน้า" ดร.อิริตะนิกล่าว
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อากิระ อิริตะนิ ผู้นำโครงการคืนชีพช้างแมมม็อธ กล่าวว่า เมื่อป 2540 ที่ผ่านมา ทางคณะต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญหลังการสกัดสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ จากซากแมมม็อธ ซึ่งถูกแช่แข็งไว้ในแคว้นไซบีเรียของสหพันธรัฐรัสเซียประสบความล้มเหลว เนื่องจากถูกความเย็นทำลาย แต่ต่อมาในปี 2551 ดร.เทรุฮิโกะ วากายามะ จากศูนย์พัฒนาชีวภาพริกเค็นของญี่ปุ่น ค้นพบวิธีการสกัดดีเอ็นเอเพื่อโคลนนิ่งหนูจากเนื้อเยื่อที่ถูกแช่แข็งมานาน ถึง 16 ปี โดย ดร.อิริตะนิและคณะได้อาศัยกรรมวิธีดังกล่าวทำให้ประสบความสำเร็จในการสกัด "นิวคลีไอ" ส่วนซึ่งบรรจุดีเอ็นเอของแมมม็อธไว้ จากเซลล์ไข่ในซากของแมมม็อธเพศเมีย โดยใช้เซลล์ไข่ของช้างในปัจจุบันเติมในส่วนที่ขาดหายไป ขั้นต่อไปคือการหาเนื้อเยื่อที่มีสภาพสมบูรณ์จากซากแมมม็อธในไซบีเรีย สถานที่ซึ่งมีซากแมม ม็อธแช่แข็งกระจัดกระจายอยู่ถึง 150 ล้านตัว บ้างเหลือแต่กระดูกโครง กระดูกงา ขน กระทั่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์
ดร.อิ ริตะนิกล่าวว่า หากการ "เอ็มบริโอ" หรือเซลล์ตัวอ่อน ของแมมม็อธสร้างขึ้นได้สำเร็จ ทางคณะจะนำไปฝากครรภ์ไว้กับช้างแอฟริกัน เนื่องจากมีความใกล้ชิดกันทางด้านพันธุกรรมมากที่สุด โดยจะใช้เวลาอุ้มท้องทั้งสิ้นราว 22 เดือน นับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกบนโลก ซึ่งจะทำให้นักวิทยา ศาสตร์สามารถศึกษาสาเหตุของการสูญพันธุ์ได้
"ความเป็นไปได้ที่ โครงการนี้จะสำเร็จนั้นค่อนข้างเป็นไปได้น้อย แต่ตอนนี้อยู่ที่ราวร้อยละ 30 แปลว่า พวกเราอาจมีโอกาสได้เห็นช้างแมมม็อธตัวเป็นๆ ในอีกราว 4-5 ปีข้างหน้า" ดร.อิริตะนิกล่าว
มีการประกาศขายเส้นขนช้างแมมมอธโบราณ (woolly mammoth hair)
ภาพจาก...www.thaifossil.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น